ก็เริ่มคอนเท้นใหม่อย่างเป็นทางการนะครับ หลังจากห่างหายไปพักนึง ซึ่งสำหรับตอนนี้ก็จะเป็นเนื้อหาต่อกับตอนที่แล้วนะครับ ซึ่งตอนที่แล้วเราจะเน้นโปรแกรมมิ่งเป็นหลัก ตอนนี้เราจะเน้นอิเล็คทรอนิกส์เป็นหลักบ้าง เพื่อเอาไปใช้งานได้จริง ทั้งนี้ ผู้อ่านก็ควรมีพื้นฐานการโปรแกรมมิ่งมาบ้าง ต่อวงจรเป็นแต่เขียนโค๊ดไม่เป็นก็ไม่มีความหมายนะครับ งานไม่เสร็จเท่ากัน 555
สำหรับชุดอุปกรณ์ผมจะแนะนำแบบที่คุ้มค่า คุ้มราคาที่สุดนะครับ ด้วยความที่ใช้เงินค่าขนมไปซื้อก็เลยเน้นประหยัดไว้ก่อน ใครมีงบประมาณจะหาซื้อของดีกว่านี้ก็ไม่ว่ากันนะครับ ^__^"
สำหรับตอนนี้ จะต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์เพิ่มเติมจากตอนที่แล้ว ซึ่งอุปกรณ์จากตอนที่แล้วก็ยังต้องใช้อยู่นะครับ โดยอุปกรณ์ จะแบ่งเป็นสองประเภท คือเครื่องมือหลัก กับอุปกรณ์ที่เราใช้ทดลอง สำหรับอุปกรณ์ทดลอง จะแยกไปตามบทนะครับ ก็มาที่อุปกรณ์หลักกันเลย
1. มัลติมิเตอร์
ลักษณะการใช้งาน
เป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ ในงานที่มีไฟฟ้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบ และป้องกันข้อผิดพลาดต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยมัลติมิเตอร์จะมีความสามารถในการวัดแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทานทางไฟฟ้า รวมถึงความสามารถเพิ่มเติ่มอื่นๆ
การเลือกซื้อ
มัลติมิเตอร์นั้นมีสองแบบ คือแบบเข็ม และแบบดิจิตอล ส่วนตัวผมแนะนำแบบดิจิตอลมากกว่า เพราะอ่านได้ง่าย และสะดวกในการใช้งานมากกว่า
สำหรับมัลติมิเตอร์ที่นำมาใช้ จะต้องสามารถวัดแรงดัน กระแสไฟฟ้า และความต้านทานได้ ซึ่งก็เป็นความสามรรถที่ทุกๆรุ่นสามารถทำได้อยู่แล้ว ที่ต่างกันไปก็คือย่านในการวัดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ความสามารถที่ขาดไม่ได้คือ Continuity Testing หรือ การทดสอบการเชื่อมต่อ ซึ่งจากการเดินเลือกซื้อ พบว่ามัลติมิเตอร์บางรุ่นไม่มีฟังก์ชั่นนี้ซะงั้น เวลาเลือกซื้อก็สังเกตจุดนี้ให้ดีนะครับ สำหรับรุ่นที่แนะนำก็ ยี่ห้อ UNI-T รุ่น UT30D นะครับ เพราะราคาไม่สูงมาก และฟังก์ชั่นครอบคลุมกับการใช้งาน
![]() |
สัญลักษณ์แสดงฟังก์ชั่นทดสอบการเชื่อมต่อ |
2. เบรดบอร์ด(Bread Board)
ก็ตามชื่อเลยครับ บอร์ดขนมปัง (สมัยก่อนวงจรจะถูกยึดไว้บนแผ่นไม้ ซึ่งฝรั่งเขาจะมีแผ่นไม้สำหรับทำขนมปัง คล้ายๆเขียงบ้านเรา แต่บางกว่า) ก็จากประวัติศาสตร์การประกอบวงจรนี้ ทำให้บอร์ดทดลองสมัยใหม่ยังคงใช้ชื่อเดิมอยู่ ซึ่งก็ยังคงคอนเซป วางหรือเสียบอุปกรณ์ และเชื่อมสายบนบอร์ด
ลักษณะการใช้งาน
ส่วนใหญ่การใช้งานเบรดบอร์ดนั้น จะเป้นลักษณะของการประกอบวงจรทดลอง เพื่อดูว่าวงจรนี้สามารถทำงานได้จริง หรือทดลองวงจรแบบชั่วคราว รื้อออกได้ง่าย ไม่มีการบัดกรี จึงนิยมใช้ในการศึกษา
การเลือกซื้อ
เบรดบอร์ดมีให้เลือกซื้อหลายขนาด ราคาประมาณ 80 - 150 บาท ต่อบอร์ด จริงๆใช้แค่บอร์ดเดียวก็พอ สำหรับข้อแนะนำ ก็ขอให้เลือกแบบที่แถวข้างเชื่อมต่อถึงกันตลอดแนว สังเกตแถบสีน้ำเงิน กับสีแดง ที่ลากยาวตลอดบอร์ด
3. สายไฟเดินวงจร
สายไฟ เป็นสิ่งสำคัญในการเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์เข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถใช้ได้สองแบบคือใช้สายจั้มที่มีขาย โดยเลือกซื้อแบบตัวผู้ - ตัวผู้ ซึ่งจะขายเป็นแผง แผงละ 40 เส้น ราคาประมาณ 60 - 90 บาท หรือสามารถซื้อสายไฟแข็ง เบอร์ 24 awg มาใช้ก็ได้ เพื่อความประหยัด และเราสามารถที่จะกำหนดความสั้นยาวได้เอง แต่ก็อย่าลืมซื้อพวกคีมตัดปอกสายไฟมาด้วยนะครับ จะสะดวกในการตัดปอกมากกว่า (หมายเหตุ สายจั้มจะเสียบกับบอร์ดอาดุยโน่ได้แน่นกว่า )
![]() |
สายจั้ม ตัวผู้ - ตัวผู้ |
![]() |
สายไฟแข็งเบอร์ 24 awg |
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าซื้อสายจัมติดไว้สักแพ็คก็ดี มีให้เลือกทั้งแบบ ผู้ - ผู้ , เมีย - เมีย , ผู้ - เมีย เรียงลำดับตามความสำคัญครับ
4. ตัวต้านทานค่าคงที่
ตัวต้านทาน หรือเรียกย่อๆว่า R มีความสำคัญมากในวงจรส่วนใหญ่ มีให้เลือกหลายค่าหลายขนาด ในเบื้องต้นขอให้เตรียมดังนี้
ตัวต้านทาน ทนกำลัง 1/4 W ความคลาดเคลื่อน 1%
ค่า 1K ohm จำนวน 20 - 100 ตัว
ค่า 10K ohm จำนวน 20 - 100 ตัว
//บางร้านซื้อเป็นร้อยตัวจะราคาถูกกว่า
4. ตัวต้านทานปรับค่าได้
ใช้ค่า 10K ohm , Type B(สังเกตตรงที่เขียนว่า B10K) จำนวน 2 - 5 ตัว5. ไมโครสวิทช์(แบบกดติดปล่อยดับ)
เลือกใช้แบบ 4 ขา เพราะจะมั่นคงกว่าแบบ 2 ขา และขนาด 6mm เพราะไม่ใหญ่จนเกินไป
จำนวน 5 - 10 ตัว
6.หลอดไฟ LED
เลือกใช้สีอะไรก็ได้ แต่แนะนำสีแดง เพราะทำงานด้วยแรงดันต่ำกว่าสีอื่นๆ ใช้ขนาด 3mm ก็พอ
จำนวน 5 - 10 ตัว
สำหรับอุปกรณ์เบื้องต้นที่ต้องใช้เป็นพื้นฐานก็มีแค่นี้ครับ นอกเหนือจากนี้ก็จะแล้วแต่เนื้อหาแต่ละบทนะครับ ถ้าเอามารวบรวมไว้บทเดียวอาจจะเยอะไป (รึป่าวนะ) เจอกันบทหน้านะครับผม
จำนวน 5 - 10 ตัว
สำหรับอุปกรณ์เบื้องต้นที่ต้องใช้เป็นพื้นฐานก็มีแค่นี้ครับ นอกเหนือจากนี้ก็จะแล้วแต่เนื้อหาแต่ละบทนะครับ ถ้าเอามารวบรวมไว้บทเดียวอาจจะเยอะไป (รึป่าวนะ) เจอกันบทหน้านะครับผม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น