1. คำสั่ง print()
สำหรับคำสั่งที่เราจะเริ่มใช้ก็ได้แก่ คำสั่ง print () ง่ายๆ โดยในวงเล็บจะใส่ข้อความที่เราต้องการ โดยอยุ่ภายในเครื่องหมาย qoute ( ' ) หรือ double - qoute เช่น
โดยเราสามารถเปลี่ยนข้อความได้ตามที่ต้องการ แต่ต้องอยู่ภายใต้เครื่องหมาย qoute (หรือ double-qoute) เท่านั้น
เมื่อเรากดรัน ให้โปรแกรมทำงาน จะได้ผลดังภาพ
Trick เมื่อเรากดรันครั้งแรกไปแล้ว ครั้งต่อไปสามารถกดที่ ปุ่มรันด้านล่างได้เลย
2. โครงสร้างโดยลำดับ (Sequence Structor)
เราสามารถใช้คำสั่ง print() หลายๆครั้งต่อกันได้ โดยใช้การเว้นบรรทัด ดังภาพ
เมื่อโปรแกรมทำงาน เราจะได้ข้อความต่อเนื่องตามลำดับจากบนลงล่างดังภาพ
ซึ่งจากตรงนี้ จะสังเกตเห็นได้ว่า โปรแกรมทำงานตามลำดับจากด้านบนลงด้านล่าง นั่นจึงเป็นความหมายของโครงสร้างโดยลำดับของโปรแกรม
3. Statement หรือ ชุดของคำสั่ง
หมายถึงกลุ่มคำสั่งที่อยู่ในชุดเดียวกัน เมื่อสเตทเม้นนั้นๆทำงาน นั่นหมายถึงคำสั่งทั้งหมดในสเตทเม้นจะทำงานทั้งหมด โดยสเตทเม้นจะถูกแบ่งออกจากกัน โดย โครงสร้างควบคุมการทำงาน หรือ Control Structure ซึ่งยังไม่ได้กล่าวถึงในเวลานี้ อย่างไรก็ตาม โปรแกรมที่เราเขียนขึ้นมาข้างต้นนั้น จัดอยู่ในสเตทเม้นเดียวกัน เพราะทุกตัวทำงานอยู่ในชุดเดียวกัน กลุ่มเดียวกัน
เนื่องจากไวยากรณ์ หรือ Syntax ของภาษาไพธอนนั้น ได้กำหนดให้คำสั่งที่อยู่ในสเตทเม้นเดียวกัน จะต้องอยู่ในย่อหน้าเดียวกัน ดังนั้นการเขียนชุดคำสั่งหลัก ไม่ควรที่จะเว้นวรรคด้านหน้าเด็ดขาด (จัดให้ชิดขอบซ้าย) เนื่องจากจะเป็นเหตุให้ผิด syntax ได้
เนื้อหาเสริม escape character ตัวอักษรหลีก
ในการที่จะปริ้นข้อความที่มีเครื่องหมาย qoute (หรือ double - qoute)อยู่ เช่น print("I say "hi"") จะทำให้โปรแกรมสับสนกับเครื่องหมายที่ระบุช่วงข้อความในโปรแกรม ทำให้โปรแกรม error สามารถแก้ไขโดยใช้ตัวอักษรหลีก โดยใส่ ( \ ) เข้าไปด้านหน้าเครื่องหมาย qoute เช่น print("I say \"hi\"") เป็นต้น โดยโปรแกรมจะตีความ ( \' ) หรือ ( \" ) ว่าเป็นส่วนหนึ่งของข้อความ ไม่ใช่เครื่องหมายแสดงขอบเขต และจะแสดงผลแค่ตัวเครื่องหมาย qoute เท่านั้น
นอกจากนี้ยังสามารถเว้นบรรทัด หรือย่อหน้า โดยใช้อักษรหลีก \n และ \t ได้ และในกรณีที่ต้องการแสดงข้อความที่เหมือนกับอักษรหลีก ให้ใช้ตัวอักษร \\ แทนตัว \ โปรแกรมจะตีความ \\ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของข้อความ ไม่ใช่อักษรหลัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น