วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อาดุยโน่อิเล็คโทรนิกส์ : บทที่ 4 การต่อวงจร led

      หลังจากที่เข้าใจพื้นฐานทางไฟฟ้าแล้ว   เราก็จะได้เริ่มต่อวงจรกันซะที
สี่งที่ต้องเตรียม
บอร์ดอาดุยโน่
ตัวต้านทาน 1K 1 ตัว
หลอด LED 1 หลอด
สายไฟจั้ม 2 เส้น



อันดับแรก เราจะกลับมาดูบอร์ดอาดุยโน่ของเราอีกรอบ

แหล่งจ่ายแรงดันบนบอร์ด


      ตรงที่มีเครื่องหมายสี่เหลี่ยม เรียกว่า power pin  ได้แก่  3.3V   , 5V , GND และ Vin (คือขาสำหรับแหล่งจ่ายภายนอก เราจะยังไม่ใช้ตอนนี้)   ซึ่งถ้าเราสังเกต 5V , 3.3V และ GND ( 0V )  มันก็จะเหมือนกับแหล่งอ้างอิงแรงดันที่พูดถึงในบทที่แล้ว  ใช้เป็นแหล่งจ่ายสำหรับวงจรได้

เบรดบอร์ด
เบรดบอร์ด(Bread board) หรือ โปรโตบอร์ด (Proto board) เป็นอุปกรณ์สำหรับประกอบวงจรอิเล็คทรอนิกส์ เพื่อทดลอง หรือการใช้งานชั่วคราว ก่อนจะออกแบบแผ่นวงจร (PCB) ประกอบด้วยสองส่วนคือ ช่องสำหรับจ่ายไฟ และช่องสำหรับเสียบอุปกรณ์ ดังรูป


 โครงสร้างภายในของเบรดบอร์ด  ประกอบด้วยแถบโลหะเชื่อมต่อระหว่างจุดสำหรับเสียบอุปกรณ์ โดยช่องจ่ายไฟจะมีการเชื่อมต่อตามยาว และช่องเสียบอุปกรณ์จะมีการเชื่อมต่อตามขวางดังรูป

รูปภาพจาก https://learn.sparkfun.com
             ลักษณะการใช้งานก็ไม่ยาก ตรงไหนที่ต้องการใช้เชื่อมถึงกัน ก็จะเสียบให้อยู่ในแถวเดียวกัน หรือถ้าต้องการเชื่อมข้ามแถวก็ ใช้สายไฟต่อระหว่างแถวได้



การสังเกตขั้วของหลอด LED



ภาพจาก https://developer.mbed.org/

การต่อวงจร


        สำหรับการต่อวงจร เราจะต่อตามผังวงจรนี้ โดยขั้วบวกของแหล่งจ่ายแรงดันในผังวงจร ก็คือช่อง 5v ของอาดุยโน่ และขั้วลบของแหล่งจ่ายแรงดันก็คือช่อง Gnd ของอาดุยโน่ ดังภาพด้านล่าง โดยห้ามเสียบ usb ขณะต่อวงจรเด็ดขาด




ข้อควรระวัง
     1.อย่าให้ไฟบวกและไฟลบต่อถึงกันเด็ดขาด เพราะจะเกิดการลัดวงจร กล่าวคือกระแสไฟฟ้าปริมาณมากไหลจากแหล่งจ่าย ทำให้อุปกรณ์เสียหายได้
      2.ต่อขั้วของ Led ให้ถูก
     
    3.เสียบอุปกรณ์ และสายไฟลงเบรดบอร์ดให้ถูกตำแหน่ง




เมื่อเราเสียบ usb ไฟก็จะติดสว่าง  ถ้าไม่ติด อาจมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดังต่อไปนี้
1. เสียบสายผิด  ไม่ครบวงจร
2. led กลับขั้ว
3. led เสีย ลองเปลี่ยนหลอดดู


ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ ลองต่อกันดูนะครับ

หมายเหตุ
ที่ใช่ค่า 1 k  เพราะเป็นค่ามาตรฐานที่นักอิเล็คโทรนิกส์ทุกคนควรมี  และให้กระแสไม่เกินขีดจำกัดของ led    ผู้อ่านสามารถคำนวณกระแสที่ไหลผ่านได้จากวิธีการในบทที่แล้ว





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น